วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
[บทความ 2 ชั่วคราว again!!~]
(จากบทความหนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๖ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๙๑๔๐)
สรุป บทความแสดงความคิดเห็น คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง ซึ่งผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์เอาไว้ มีปรากฏคู่กับหนังสือพิมพ์
บทความวิชาการ
บทความวิชาการเป็นงานเขียนที่มุ่งเสนอความรู้ ข้อเท็จจริง ทรรศนะ มุมมอง ตลอดจนข้อเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยของนักวิชาการ ผู้เขียนมักเป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าหรือผู้ที่สนใจเรื่องนั้น ๆ โดยตรงจึงมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี บทความวิชาการถือเป็นแหล่งข้อมูล ความรู้ที่อ้างอิงได้ดีแหล่งหนึ่ง ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความก้าวหน้าในวงวิชาการจากการอ่านบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ นักศึกษาควรหาโอกาสอ่านบทความวิชาการอยู่เสมอเพราะมีคุณค่าในด้านการให้ความรู้ และข้อคิดเห็นที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการ
[บทความวรนารี ชั่วคราว!!!~]
บทความแสดงความคิดเห็น
เป็นบทความที่ผู้เขียนหยิบยกเอาปัญหาในสังคมนั้นมาเขียนมีทั้งปัญหาส่วนรวมและปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาส่วนรวมก็เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง การปกครอง ฯลฯ ปัญหาส่วนบุคคลก็เช่น การป้องกันอาชญากรรม การรักษาความปลอดภัยให้ตนเอง การประกันชีวิต ฯลฯ บางครั้งผู้เขียนอาจจะเขียนตอบโต้บทความที่ผู้อื่นเขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นในแนวหนึ่งแนวใด ปัญหาที่มีข้อขัดแย้งนี้มักจะมีข้อคิด แตกต่างกันออกไปสองแนว คือ ความคิดเห็นในแนวยอมรับและโต้แย้ง เช่น หัวข้อบทความที่ว่าเพศศึกษาเหมาะสมกับการศึกษาระดับมัธยมเพียงไร บทความประเภทนี้ผู้เขียนอาจเลือก แสดงความคิดเห็นในแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ หรือจะเสนอความคิดเห็นของคนทั่ว ๆ ไปทุกด้านก็ได้ เพื่อปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาตัดสินเอาเอง วิธีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นนี้ ผู้เขียน ต้องเริ่มต้นด้วยการแยกแยะปัญหาให้กระจ่างชัดเสียก่อนว่า ปัญหาคืออะไร วิธีแก้ปัญหามีอย่างไร ผู้เขียนเห็นชอบกับวิธีไหนเหตุที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบ ในตอนท้ายควรจะย้ำ ความคิดเห็นของตนให้เด่นชัดอีกทีหนึ่ง
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ซ้ำเติม !!~
