วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

[บทความ 2 ชั่วคราว again!!~]

ตัวอย่างบทความแสดงความคิดเห็นช่วยกันประหยัดพลังงาน นโยบายชดเชยน้ำมันขายปลีกของรัฐบาลที่ดำเนินการมาถึงวันนี้นับเวลาได้ประมาณ๑ เดือน ทำให้กองทุนน้ำมันต้องใช้เงินต้องใช้เงินชดเชยราคาถึงวันละประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท รวมกว่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางฝ่ายการดำเนินนโยบายดังกล่าว ผิดพลาด เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี นั่นคือขีดความสามารถในการผลิตของสินค้า ส่งออกในระยะยาว จะมีปัญหาและประชาชนจะไม่รู้จักนิสัยรักการประหยัด ในขณะที่รัฐบาลโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชีนวัตร นายกรัฐมนตรีก็ยังคงยืนยันว่ารัฐบาลได้ทำอย่างดีที่สุดแล้ว จะเดินหน้านโยบายตรึงราคาน้ำมันไว้ต่อไป ขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงาน ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลในส่วนของรัฐบาลที่ตัดสินใจตรึงราคาน้ำมันมาก่อนหน้านี้ ๑ เดือน โดยถือเอาประชาชนเป็นหลักที่จะไม่เดือดร้อนจากการขึ้นราคาน้ำมันที่จะทำให้ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นไปด้วย แต่ครั้นเวลาน้ำมันลดราคาลงมา ราคาสินค้ากลับไม่ลดตาม การตัดสินใจ ของรัฐบาลจึงควรได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เพียงแต่ว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ว่าจะเกิดสงครามสหรัฐถล่มอิรักในเร็ววัน ไม่ได้เป็นไปตามนั้น เพราะเวลาผ่านมา ๑ เดือน สงครามยังไม่เกิด เงินของกองทุนน้ำมันที่นำมาชดเชยก็เพิ่มขึ้นทุกวันจนกลายเป็นตัวเลขที่น่าวิตก แต่อย่างไรก็ตามมาถึงวันนี้ สงครามสหรัฐกับอิรักได้เกิดขึ้นแน่นอน ส่งผลให้ราคา น้ำมันผันผวนอย่างมาก เมื่อนั้นก็อาจจะมองเห็นว่าการตัดสินใจของรัฐบาลนั้นถูกต้องแล้ว การดำเนินนโยบายชดเชยน้ำมันขายปลีกที่กองทุนน้ำมันต้องควักกระเป๋ามาตลอด ๑ เดือน เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นในช่วงก่อนสงครามนี้ จะไม่เป็นที่น่าวิตก ถ้าประชาชนคนไทยได้รับรู้และเข้าใจว่าการตัดสินใจของรัฐบาลมุ่งประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ หาใช่เป็นประโยชน์ของรัฐบาล แต่นั่นต้องอยู่ภายใต้ข้อแม้ว่าประชาชนจะต้องร่วมแรงร่วมใจประหยัดพลังงาน ควรมีจิตสำนึกว่าถ้าใช้น้ำมันหรือใช้พลังงาน มากแม้จะจ่ายเงินเท่าเดิมก็จะเกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติ สิ่งที่ปรากฏขึ้นก็คือ ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่ได้ตื่นตัวว่าจะต้องช่วยกันประหยัด วิถีชีวิตเป็นอย่างไรก็ยังคงเป็นอย่างนั้น การใช้รถโดยไม่จำเป็นก็ยังเกิดขึ้นอยู่ คิดเพียงว่าเมื่อมีเงินเติมน้ำมันก็คงจะไม่เดือดร้อนไปถึงคนอื่น แต่แท้ที่จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น การคิดอย่างนี้เป็นการคิดเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ไม่คำนึงถึงผลกระทบโดยรวม หากมีคนคิดกันเช่นนี้มาก ๆ อยากขับรถไปไหนก็ไปง่าย ๆ คิดจะเปิดไฟกี่ดวง เปิดเครื่องปรับอากาศ โดยไม่ช่วยกันประหยัดพลังงานสุดท้ายเงินทองที่ต้องเสียไปให้ประเทศที่จำหน่ายน้ำมันก็จะเพิ่มทวีและประเทศไทยก็จะมีหนี้สินจำนวนมาก การรณรงค์ให้คนไทยพร้อมใจกันประหยัดโดยขอความร่วมมือแบบธรรมดา อาจจะได้ผลสำหรับคนส่วนหนึ่งที่มีจิตสำนึก แต่คนอีกส่วนหนึ่งก็ติดนิสัยทำตัวสบาย – สบาย ไม่ใส่ใจเรื่องการประหยัด นี่เองทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดและกวดขันให้ปฏิบัติตามมาตรการสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยออกมาตรการต่าง ๆ มาใช้บังคับซึ่งก็ได้ผลระดับหนึ่งที่พลังงานไม่ถูกเผาผลาญไปโดยไม่จำเป็น มาถึงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ก็น่าจะออกมาตรการมารองรับด้วยซึ่งควรจะไม่รีบด้วยเช่น การกำหนดเวลาเปิด – ปิด สถานบริการ ฯลฯ สำหรับการชดเชยราคาน้ำมันก็คงจะต้องพิจารณาว่าควรจะปรับปรุงหรือไม่

(จากบทความหนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๖ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๙๑๔๐)
สรุป บทความแสดงความคิดเห็น คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง ซึ่งผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์เอาไว้ มีปรากฏคู่กับหนังสือพิมพ์



บทความวิชาการ
บทความวิชาการเป็นงานเขียนที่มุ่งเสนอความรู้ ข้อเท็จจริง ทรรศนะ มุมมอง ตลอดจนข้อเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยของนักวิชาการ ผู้เขียนมักเป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าหรือผู้ที่สนใจเรื่องนั้น ๆ โดยตรงจึงมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี บทความวิชาการถือเป็นแหล่งข้อมูล ความรู้ที่อ้างอิงได้ดีแหล่งหนึ่ง ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความก้าวหน้าในวงวิชาการจากการอ่านบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ นักศึกษาควรหาโอกาสอ่านบทความวิชาการอยู่เสมอเพราะมีคุณค่าในด้านการให้ความรู้ และข้อคิดเห็นที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการ

[บทความวรนารี ชั่วคราว!!!~]

บทความแสดงความคิดเห็น
เป็นบทความที่ผู้เขียนหยิบยกเอาปัญหาในสังคมนั้นมาเขียนมีทั้งปัญหาส่วนรวมและปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาส่วนรวมก็เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง การปกครอง ฯลฯ ปัญหาส่วนบุคคลก็เช่น การป้องกันอาชญากรรม การรักษาความปลอดภัยให้ตนเอง การประกันชีวิต ฯลฯ บางครั้งผู้เขียนอาจจะเขียนตอบโต้บทความที่ผู้อื่นเขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นในแนวหนึ่งแนวใด ปัญหาที่มีข้อขัดแย้งนี้มักจะมีข้อคิด แตกต่างกันออกไปสองแนว คือ ความคิดเห็นในแนวยอมรับและโต้แย้ง เช่น หัวข้อบทความที่ว่าเพศศึกษาเหมาะสมกับการศึกษาระดับมัธยมเพียงไร บทความประเภทนี้ผู้เขียนอาจเลือก แสดงความคิดเห็นในแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ หรือจะเสนอความคิดเห็นของคนทั่ว ๆ ไปทุกด้านก็ได้ เพื่อปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาตัดสินเอาเอง วิธีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นนี้ ผู้เขียน ต้องเริ่มต้นด้วยการแยกแยะปัญหาให้กระจ่างชัดเสียก่อนว่า ปัญหาคืออะไร วิธีแก้ปัญหามีอย่างไร ผู้เขียนเห็นชอบกับวิธีไหนเหตุที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบ ในตอนท้ายควรจะย้ำ ความคิดเห็นของตนให้เด่นชัดอีกทีหนึ่ง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซ้ำเติม !!~


:( ซ้ำเติมความเจบปวด
กับสิ่งที่เธอไม่บอก กับสิ่งที่ฉันนั้นคอยถาม
กับความสัมพันธ์ของเราที่เหมือนไม่ไปไหน
จะหยุดที่ตรงรักกัน
จะจบที่ตรงไม่เหลือใคร
คำเดียวที่ฉันได้
คือคำว่าเรา ค่อยๆ ดูๆ กันไป
อย่างกับหนังสือที่มองไม่เห็นตัวอักษร
เปิดดูละครก็มองไม่เห็นภาพที่ฉายมา
เปิดเพลงฟังไม่มีคำร้อง
ไม่มีทำนองที่ก้องมา
คล้ายๆ เหมือนๆ กับใจของเธอ
มันเจ็บแต่ยังหายใจ
ยังต้องใช่ชีวิตอยู่คู่กับรักเธอ
ที่เหมือนความว่างเปล่าที่ต้องพบเจอ
ที่เธอเองไม่เคยชี้ทางให้ฉันเลย
จะเจ็บแต่ยังหายใจ
สำหรับฉันถึงต้องรอสักแค่ไหน
ตลอดชีวิตของฉันพอไหม
หรือไม่มีค่าพอ ให้รอเพื่อรักเธอ
เธออาจพบคนมากมาย
ก็เลยไม่คิดจะเลือกใคร
หนึ่งคนที่เธอมั่นใจ
จะพูดคำว่ารัก จะอยู่ที่เดิมที่เก่า
ถ้าเธอยังไม่ตัดสินใจ จะรอเธอเรื่อยไป
สักวันที่ฉันจะได้พบคำตอบ
อย่างกับหนังสือที่มองไม่เห็นตัวอักษร
เปิดดูละครก็มองไม่เห็นภาพที่ฉายมา
เปิดเพลงฟังไม่มีคำร้อง ไม่มีทำนองที่ก้องมา
คล้ายๆ เหมือนๆ กับใจของเธอ
มันเจ็บแต่ยังหายใจ ยังต้องใช่ชีวิตอยู่คู่กับรักเธอ
ที่เหมือนความว่างเปล่าที่ต้องพบเจอ
ที่เธอเองไม่เคยชี้ทางให้ฉันเลย
จะเจ็บแต่ยังหายใจ สำหรับฉันถึงต้องรอสักแค่ไหน
ตลอดชีวิตของฉันพอไหม หรือไม่มีค่าพอ
ให้รอเพื่อรักเธอ
มันเจ็บแต่ยังหายใจ
ยังต้องใช่ชีวิตอยู่คู่กับรักเธอ
ที่เหมือนความว่างเปล่าที่ต้องพบเจอ
ที่เธอเองไม่เคยชี้ทางให้ฉันเลย
จะเจ็บแต่ยังหายใจ
สำหรับฉันถึงต้องรอสักแค่ไหน
ตลอดชีวิตของฉันพอไหม หรือไม่มีค่าพอ
ให้รอเพื่อรักเธอ
ตลอดชีวิต ของฉันพอไหม ที่ฉันยังจะรอ ให้เธอนั้นรักกัน..........
อารม ความรุสึก >>ถ้ามันแปรเปี่ยน เปนอไลที่เยนชา ชีวิตมันจะดีกว่านี้มั๊ย??